ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากสาเหตุอะไร

   อาการหนังตาตก ชั้นตาไม่เท่ากัน ลืมตาขึ้นได้ไม่เต็มที่ ตาปรือเหมือนคนง่วงนอน หนังตาหย่อนดูไม่สดใส ปัญหาที่หลายคนอาจคิดว่าเป็นเพียงอาการตาล้าจากการใช้สายตาที่มากเกินไป แต่จริงๆแล้วเป็นอาการเริ่มต้นของ “ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง”ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่อาจมีความรุนแรงของอาการที่แตกต่างกัน ในบางคนอาจพบเพียงข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ แม้จะไม่รู้สึกถึงอาการเจ็บปวดแต่“ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง”ส่งผลกับการมองเห็น ดังนั้นเมื่อสังเกตเห็นความผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคืออะไร

   “ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง”เกิดจากความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อที่ใช้ในการลืมตา มีอาการลืมตาไม่ขึ้น ลืมตาไม่สุด หนังตาตก ตาปรือเหมือนคนง่วงนอน เพราะกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ยกหนังตาอ่อนแรงมาก หากพบว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแล้วไม่รีบแก้ไขหรือปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดปัญหาในการมองเห็น ในบางคนอาจทำให้ปวดศีรษะมากขึ้นจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือบางคนที่เป็นไมเกรนอยู่แล้วก็อาจกระตุ้นให้ Attack ขึ้นบ่อยๆ ได้

อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมีอะไรบ้าง

  • ลืมตาได้ไม่เต็มที่ ดวงตาข้างที่เป็นจะมีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะมีชั้นตาที่ใหญ่ หนังตาตกลงมาปิดที่ขอบบนของตาดำ ชั้นตาไม่เท่ากัน หรือในบางคนอาจมีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงทั้งสองข้าง
  • กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงข้างเดียว ห้สังเกตคิ้วข้างที่มีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะยกสูงกว่าตาข้างที่ไม่ได้เป็น ทำให้ชั้นตาไม่เท่ากัน หนังตาจะตกลงมาบังตาดำมากกว่าปกติ บดบังการมองเห็นและทำให้ตาดูไม่เท่ากันซึ่งส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพและความมั่นใจเป็นอย่างมาก
  • เบ้าตาลึกกว่าปกติ คนที่มีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะมีเบ้าตาที่ลึกมากกว่าปกติ เนื่องจากไขมันใต้เปลือกตาหาย ทำให้ตาดูโหล ดูโทรม ดูมีอายุ ดูเป็นคนง่วงนอนตลอดเวลา
  • หนังตาตก หนังตาหรือเปลือกตาบนตกลงมาต่ำกว่าปกติ ตกลงมาปิดรูม่านตาทำให้มีปัญหาในการมองเห็น ลืมตาไม่ค่อยได้ รู้สึกหนัก ๆ ตา
  • “ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” เกิดจากความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อที่ใช้ในการลืมตา มีอาการลืมตาไม่ขึ้น ลืมตาไม่สุด หนังตาตก ตาปรือเหมือนคนง่วงนอน เพราะกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ยกหนังตาอ่อนแรงมาก หากพบว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแล้วไม่รีบแก้ไขหรือปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดปัญหาในการมองเห็น ในบางคนอาจทำให้ปวดศีรษะมากขึ้นจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือบางคนที่เป็นไมเกรนอยู่แล้วก็อาจกระตุ้นให้ Attack ขึ้นบ่อยๆ ได้

สาเหตุของการเกิดปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

  1. มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมาตั้งแต่กำเนิด พันธุกรรมเป็นความผิดปกติในการจัดเรียงตัวของกล้ามเนื้อในส่วนที่ใช้ในการลืมตา ทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง หากไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลให้มีสายตาเอียง หรือ สายตาขี้เกียจ
  2. อายุมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อตาจะยืดและมีความหย่อนคล้อยทำให้หนังตาตกลงมา ซึ่งในกรณีนี้การใช้ชีวิตประจำวันมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ไม่ว่าจะเป็นการขยี้ตาบ่อยๆ การใส่บิ๊กอาย หรือ คอนแทคเลนส์เป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้กล้ามเนื้อตาเกิดการยืดได้
  3. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากความผิดปกติของสารสื่อประสาท หรือ Myasthenia Gravisในกรณีนี้ จะมีอาการหนังตาตกเกิดขึ้นในบางเวลา เมื่อได้พักหลับตาอาการก็จะดีขึ้น
  4. เกิดอุบัติเหตุหรือการผ่าตัดตาสองชั้นที่ผิดพลาด การทำศัลยกรรมตาสองชั้นกับแพทย์ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ หรือ การได้รับอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบบริเวณกล้ามเนื้อเปิดเปลือกตาหรือเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อตา ทำให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณเปลือกตาในภายหลังก็อาจจะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้

วิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

   การรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่ดีที่สุดคือการผ่าตัดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การผ่าตัดจะใช้วิธีเย็บตรึงกล้ามเนื้อตาด้วยความตึงแตกต่างกันในแต่ละข้าง เพราะส่วนใหญ่ แล้วกล้ามเนื้อตาจะมีความหย่อนคล้อยไม่เท่ากัน การผ่าตัดรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะขึ้นอยู่กำลังของกล้ามเนื้อตา แก้ไขเพื่อให้กล้ามเนื้อตาตึงขึ้น สามารถออกแรงได้มากขึ้น ปรับระดับการยกขึ้นของเปลือกตา จึงจำเป็นต้องทำร่วมกับการทำตาสองชั้น เพราะต้องมีการเปิดแผลจากการทำตาสองชั้นก่อน

ระยะเวลาผ่าตัด

ตั้งแต่ 1 ชม. 30 นาที
ถึง 2 ชม.

ระยะเวลาพักที่คลินิก

กลับบ้านได้เลย
ไม่ต้องพักคลินิก

วิธีระงับความเจ็บ

ยาชาแบบทา และฉีด
ทำให้ง่วง

ไหมที่ใช้

เป็นไหมละลาย ไม่ต้องทำการตัดออก

ระยะเวลาพักฟื้น

บวม 2-3 วัน
7 วันถอดเฝือก